วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 1 (ก)


เรียนรู้ภาษาอีสาน
 
(ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น)
วัฒนธรรมทางภาษาอีสาน 
เพื่อสำนึกรักถิ่นเกิด  

ตอนที่ 1 
-------------------------------------------
  • กางกี หมายถึง นกกางกางกี้ นกแก้ว
  • กุด (ขา) หมายถึง ขาด้วน ขาขาด
  • ก่อง (ก้าน) หมายถึง โน้มลง ย้อยลง
  • เกื้อ หมายถึง เอื้อเฟื้อ
  • ก่อ หมายถึง สร้างขึ้น
  • กกไม้ หมายถึง ต้นไม้
  • โกน (ใน) หมายถึง ในโพรงไม้
  • ก่องข้าว หมายถึง กล่องข้าวเหนียวนึ่ง
  • กระติบข้าว หมายถึง กล่องข้าวเหนียวสุก
  • กลืนลึดๆ หมายถึง กลืนโดยไม่เคี้ยว
  • กระโบ่งตา หมายถึง กระบอกตา
  • กระต่า หมายถึง ตระกร้าใส่ของต่างๆ
  • กระโตก หมายถึง พานใส่อาหารทรงสูง
  • กระแต หมายถึง กระแต กระรอก
  • ก่อง (คิ้ว) หมายถึง คิ้วโก่ง
  • แกงเจาะ หมายถึง แกงใส่น้ำนิดๆ
  • แกงซั๊ว หมายถึง แกงใส่น้ำธรรมดา
  • เก่าเหิง หมายถึง ของเก่านมนาน
  • เกล้าผม หมายถึง มวยผม
  • เกือยแก้ หมายถึง แก้ไข
  • เกือย (ตัก) หมายถึง ตักออก
  • เกี่ย (อุ้ม) หมายถึง อุ้ม
  • กาย หมายถึง ตัว
  • เกษิม หมายถึง เกษมสุข
  • กงโลก หมายถึง ทั่วโลก
  • กวม (นั่ง) หมายถึง นั่งทับ นั่งคร่อม
  • กกขา หมายถึง โคนขา
  • กวนบ้าน หมายถึง ผู้ใหญ่บ้าน
  • กุฎโฎ หมายถึง ไก่
  • เกิบแก้ว หมายถึง รองเท้าขลิบด้วยแก้ว
  • เกือกตม หมายถึง เกือกขี้โคลน
  • เกกางกาด หมายถึง หญิงโสเภณี
  • กาขาว หมายถึง กาเผือก
  • กก หมายถึง เริ่มต้น แรก
  • กลางเว็น หมายถึง กลางวัน
  • กวด หมายถึง ตรวจ
  • เกิบ หมายถึง รองเท้า
  • กัสสโป หมายถึง เต่า
  • กังสะดาล หมายถึง ระฆังวงเดือน
  • กระโด้น หมายถึง ท้ายทอย
  • ก้ำ หมายถึง ทางฝ่าย ทางทิศที่จะไป
  • กะโมะพอดี หมายถึงประจวบ โดยบังเอิญ
  • กลายไปหน้า หมายถึง เดินผ่านไป
  • กลิ่นกลั้๊ว หมายถึงรสหอมระคนกัน (รส)
  • กระสัณท์ หมายถึง อยากจะได้
  • แก ๆ ร้อง หมายถึง เสียงนกร้อง
  • ก้าม หมายถึง น้ำแข็ง (น้ำ)
  • ก้าม หมายถึง ขนมแข็ง (ขนม)
  • กีบฟ้า หมายถึง แผ่นขี้เมฆ
  • กวม หมายถึง สรวม
  • กวมอ้าย หมายถึง ทับอกพี่
  • กระจ้อน หมายถึง ต่างหู
-------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น